ฝ่ายนโยบายยุทธศาสตร์ หอการค้าไทย ได้รวมรวบและวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจโลก จากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์), Economic Outlook 2024, ศูนย์วิจัยกรุงศรี, คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า เศรษฐกิจโลก ปี 2567มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนปริมาณการค้าโลกคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวจากในปี 2566 โดยมีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศสำคัญ ๆ ดังนี้
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มชะลอตัวลงตามการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่น้อยลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน เศรษฐกิจภาคครัวเรือน การใช้จ่ายของผู้บริโภค และการลงทุนทางธุรกิจ ที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่วนการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะชะลอตัวลงเนื่องตามแรงกดดันเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง ของธนาคารกลางสหรัฐ
รวมถึงการสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษา (Student Loan Repayment) ในเดือนตุลาคม 2566 ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2567 เป็นต้นไป ธนาคารกลางสหรัฐ จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง อาจส่งผลให้การจ้างงานปรับตัวลดลงในระยะถัดไปคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg
เศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มขยายตัวตามทิศทางการฟื้นตัวของการค้าโลก ประกอบกับแรงสนับสนุนจากมาตรการทางการคลังขนาดใหญ่ของสหภาพยุโรป และการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ทำให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความสามารถในการลดปริมาณการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย และการเพิ่มปริมาณพลังงานสำรองได้มากขึ้น เป็นส่วนที่ทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อปรับตัวลดลง ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัว
ส่วนปัจจัยลบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงยังคงฉุดรั้งการลงทุน การบริโภค และการส่งออก อาจมีความผันผวนตามการชะลอตัวของคู่ค้าสำคัญ ๆ โดยเฉพาะจีน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของมูลค่าการส่งออกของยุโรป ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรปมีแนวโน้มที่จะยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภายหลังจากอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับสูงต่อไปก่อน จนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดระดับสู่เป้าหมายในระยะปานกลางคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2566 เป็นผลมาจากแนวโน้มการชะลอตัวลงของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับค่าจ้างแรงงานแท้จริงที่ยังปรับลดลง อีกทั้งได้รับปัจจัยจากแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่อ่อนค่า สำหรับภาคการส่งออก คาดว่ามีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวเล็กน้อย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ส่งออกจากญี่ปุ่นอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เช่น รถยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องจักร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ มากกว่า 50% ของการส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการส่งออกเป็นระยะ เนื่องจากการชะลอตัวของคู่ค้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป ยังเป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกโดยรวมในปี 2567 อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐบาลได้มีการประกาศมาตรการเศรษฐกิจรอบใหม่และจะกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ทั้งนี้ ภายใต้แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายในปี 2567 คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำต่อเนื่อง จนกว่าจะสามารถบรรลุอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2.0% ในระยะยาว
เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวลง ตามการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังเผชิญกับข้อจำกัดจากปัญหาขาดสภาพคล่องและภาระหนี้สินที่อยู่ในระดับสูงทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ และจีน รวมถึงการกระจายห่วงโซ่อุปทานและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ช้าลง ยังส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในภาคธุรกิจอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มได้รับแรงสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายทางการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน และลดความเสี่ยงด้านหนี้สินของรัฐบาลท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIEs)มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ท่ามกลางการลดลงของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว รวมถึงภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของการค้าโลกและการเติบโตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปี 2567 ของเกาหลีใต้ จะขยายตัว 2.0% ไต้หวัน จะขยายตัว 2.9% สิงคโปร์ จะขยายตัว 2.0% และฮ่องกง คาดว่าจะขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจากปี 2566 ตามลำดับ
เศรษฐกิจอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ตามการขยายตัวของภาคการส่งออกและแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลก ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารทั้งสองประเทศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า จีดีพีของกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 6 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จะขยายตัว 4.6% ในปี 2567 เร่งขึ้นจาก 4% ในปี 2566
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้น ตามการกลับมาขยายตัวของภาคการส่งออก และแรงสนับสนุนจากการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ดีขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ หากนโยบายเติมเงินใน digital wallet ดำเนินการได้เต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาท ประเมินว่าจะช่วยเพิ่มการเติบโตของ GDP ได้อีกอย่างน้อย 1-1.5% อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ เช่น ข้อจำกัดทางการคลัง ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง ความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งที่จะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตร และการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าท่ามกลางความเสี่ยงจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ซึ่งคงต้องติดตามความคืบหน้าต่อไปเป็นระยะ