โดยนายนพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้ทวิตข้อความ ระบุว่า ประธานสภาฯในระบบอังกฤษที่ไทยเรียนมา ต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง ต้องตัดความสัมพันธ์กับพรรคเก่า ไม่ลงมติในสภาไม่ผลักดันกฎหมายใดๆให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและการโหวตของ ส.ส.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ทวิตว่าหากเคารพหลักการประชาธิปไตย ถ้าความเห็นไม่ตรงกันต้องตัดสินด้วยการโหวตในสภาและเคารพเสียงข้างมาก
เลือกตั้ง 2566 : ก้าวไกลเชื่อใจเพื่อไทยไม่ถอนตัวร่วมรัฐบาล จากปมร้อน ประธานสภา
เลือกตั้ง2566 : "ภูมิธรรม" ลั่น เพื่อไทยรอก้าวไกลตอบกลับเรื่อง “ประธานสภา” คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากยังมีนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ทวิตตั้งคำถามว่าระหว่างประธานสภาให้พรรคการเมืองกับประธานสภาให้ประชาชนเลือกสภาแบบไหน
ด้านณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ทวิตบอกว่าไม่ไว้ใจเพื่อนก็หยุดเสีย ไม่เชื่ออย่าใช้ ถ้าจะใช้ต้องให้เกียรติกัน
ไม่ได้มีแค่ในทวิตเตอร์ในเฟซบุ๊กก็มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตแกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความเปรียบเปรยถึงคู่บ่าวสาว เปรียบก้าวไกลเป็นเจ้าบ่าว เพื่อไทยเป็นเจ้าสาว ตัวเองเป็นผู้ใหญ่ของเจ้าสาว ก็ให้ความมั่นใจกับก้าวไกล ว่าในฐานะญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว(เพื่อไทย) ยืนยันเจ้าสาวไม่วอกแวก เจ้าบ่าวลดความจิ๊กโก๋ลงบ้างก็จะดี
ส่วนที่มาโต้เดือดผ่านผู้สื่อข่าวและตอบตรงๆไม่ต้องแปล ไม่ต้องอ้อมค้อม คือ นายอดิศร เพียงเกษ ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย บอกว่าถ้าประธานสภาฯไปอยู่ที่ก้าวไกลจะถูกโจมตีนะ เอามาให้พวกเราเป็นกลางดีกว่า
ขณะที่นายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.เพื่อไทย อุบลราชธานี ออกมาพูดว่า ก้าวไกลใช้สื่อกดดันตำแหน่งประธานสภาฯ กดขี่กันมากเกินไป เอาแต่ใจทุกเรื่อง เพื่อไทยอาจใจไม่ไปต่อด้วยก็ได้
ขณะที่ ฝั่งพรรคก้าวไกล ก็ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ ไปในทิศทางเดียวกัน มีทั้งนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุลกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล นายรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ยืนยันว่าตำแหน่งประธานสภาฯ ต้องเป็นของพรรคก้าวไกล เพื่อผลักกัน 3 วาระ เปลี่ยนแปลงให้รัฐสภาไทยสามารถออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โปรงใส่ และตรวจสอบได้
ซึ่งก่อนหน้านี้นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลาขาธิการคณะก้าวหน้าโพสต์เฟซบุ๊กค่อนข้างดุเดือด บอกว่าพรรคก้าวไกลยอมลดยอมถอดทุกอย่าง ยังจะเอาตำแหน่งประธานสภาไปอีก พรรคต้องถอยไปถึงไหน
ท่ามกกลางความเห็นของ 2 พรรค ที่ไม่ลงตัวกันอาจารย์สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง แนะทางออกให้หาประธานสภาคนกลางที่ไม่ได้มาจาพรรคก้าวไกล และ เพื่อไทย
ซึ่งก็มีบุคคลอาวุโสที่เหมาะและมีประสบการณ์อย่างคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย และวันมูหะมัดนอร์ มะทาหัวหน้าพรรคประชาชาติ โดยเฉพาะนายวันนอร์ ก็เคยมีประสบการณ์เป็นประธานสภามาก่อน เพื่อให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าต่อไปได้
การสมาชิกพรรคทั้ง 2 พรรค ออกมาแสดงความคิดเห็นทั้งผ่านสื่อหรือให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ไม่เป็นผลดีกับทั้ง 2 พรรค ควรไปประชุมหารือกันภายในพรรค และให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้เนินการ
ส่วนทิศทางการเมือง ต้องยอมรับว่าเปลี่ยนไปจากเดิม มีการเปิดกว้างมากขึ้น ประชาชนมีส่วนร่วมและสนใจการเมืองมากขึ้นนักการเมืองจะทำแบบเดิมไม่ได้ เพราะประชาชนจับตาการทำงานตลอดเวลา ขณะเดียวกันต้องฟังเสียงของประชาชน
แต่เมื่อตอนนี้เป็นการตั้งรัฐบาลผสม ทั้งพรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและพรรคร่วมควรหารือกันต่างฝ่ายต่างลดถิฐิกัน ส่วนกรณีนี้หากสุดท้ายแล้วพรรคเพื่อไทยไม่พอใจในข้อตกลงหรือไม่พอใจที่ไม่ได้ตำแหน่งประธานสภา ถอนตัวไปรวมพรรคแพ้เลือกตั้งจัดตั้งรัฐบาลอาจจะได้เห็นภาพประชาชนออกไม่พอใจรวมตัวมาเรียกร้องบนท้องถนน